ราคากุ้งประจำวัน

ปรับปรุงเมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2566

จำนวนกุ้ง (ตัว) ต่อกิโลกรัม 40 50 60 65 70 75 80 85 90 95 100 105 110 115 120 125 130 135 140 145 150 จำนวนตู้
ราคา (บาท) 205 185 175 17 170 160 150 145 135 130 128 122 122 120 120 120 120 118 118 118 116 29
โครงการพัฒนาระบบการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมงไทย

จากปัญหาการทำประมงอย่างไร้ความรับผิดชอบ ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในหลักเหตุผลที่ใช้อ้างถึงว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำลดลง และเกิดกระแสให้นานาประเทศตระหนักถึงความรับผิดชอบร่วมกันในการดูแลรับผิดชอบทรัพยากรสัตว์น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทะเลที่เป็นสาธารณะสมบัติ กระแสความตระหนักดังกล่าว ส่งผลให้บางประเทศออกมาตรการเพื่อใช้ในการควบคุมการทำประมงภายในประเทศให้เกิดความรับผิดชอบตลอดจนควบคุมสินค้าที่จะมาจำหน่ายในประเทศตน ให้มีการยืนยันและสามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นสินค้าที่มาจากการทาการประมงอย่างรับผิดชอบ หรือ Non-IUU (Illegal Unreported and Unregulated Fishing) ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ดังจะเห็นตัวอย่างได้จากกลุ่มประเทศยุโรป และอเมริกาเป็นต้น

ต่อมาคณะทางานพัฒนาระบบการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมงของไทย (Thai Sustainable Fisheries Roundtable: TSFR) ซึ่งประกอบด้วย 8 สมาคม ได้แก่ สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย สมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมกุ้งไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสาเร็จรูป สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย และสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย โดยมีอธิบดีกรมประมงเป็นประธาน ได้เล็งเห็นถึงความสาคัญในการใช้มาตรฐานสากลเพื่อยกระดับการจัดการประมงและระบบการผลิตสินค้าประมงของไทยให้เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ โดยใช้กระบวนการ Fishery Improvement Project หรือ FIP ซึ่งเป็นกระบวนการที่นานาชาติยอมรับในการปรับปรุงและพัฒนาการประมงอย่างรับผิดชอบและนำไปสู่ความยั่งยืน โดยกระบวนการดังกล่าวมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น แสดงความคิดเห็นและร่วมมือในการแก้ปัญหา และเข้าสู่มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมสากล

ด้วยหลักการ การพัฒนาแผนปรับปรุงประมง (FIP) ที่ได้รับความยอมรับจากองค์กรนานาชาติและประเทศผู้ค้า ต้องมีองค์ประกอบที่สาคัญ คือ

1

ต้องเป็นแผนที่มาจากการมีส่วนร่วมและความพยายามของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย หรือ multi-stakeholder engagement and effort

2

ต้องระบุกิจกรรมที่ในการแก้ปัญหาอย่างชัดเจน เรียงลำดับตามความสำคัญและระยะเวลาในการดำเนินการ รวมทั้งผู้ดำเนินการ

3

การดำเนินการตามขั้นตอนตามแผนที่วางไว้และการตรวจสอบผลดาเนินการอยู่เป็นระยะ

โดยขั้นตอนการพัฒนาแผนปรับปรุงประมง FIP แบ่งออกเป็น 3 ระยะ หลัก คือ

ระยะที่ 1
การประเมินเบื้องต้น (Pre-assessment)

คือกระบวนการระบุสถานการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการทำประมง จากสถานะของทรัพยากร ผลกระทบของสิ่งแวดล้อม วิธีการประมงและผลการจับที่สอดคล้องกับความสัมพันธ์ของปริมาณสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อม ประสิทธิภาพการจัดการจากกฎหมายและข้อกำหนดของภาครัฐ เพื่อแสดงถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น โดยผู้มีประสบการณ์ในการประเมิน ซึ่งผลที่ได้คือรายงานการประเมินเบื้องต้น (pre-assessment report)


ระยะที่ 2
การจัดทำแผนการปรับปรุงประมง
(Fishery Improvement Plan)

ขั้นตอนนี้เป็นกระบวนต่อเนื่องจากการประเมินเบื้องต้น แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนด้วยกัน คือ

1.การนำผลการประเมินมาวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap analysis)
ซึ่งภายในโครงการนี้มีจุดประสงค์ในการทำแผนปรับปรุงประมงภายใต้กรอบมาตรฐาน IFFO RS V2 ที่ตอบรับกับสภาพทรัพยากรและประมงของไทย ผลลัพธ์จากขั้นตอนนี้คือ รายงานวิเคราะห์ช่องว่าง (gap analysis report)

2.การทำแผนปรับปรุงประมง (Action Plan)
จากรายงานวิเคราะห์ช่องว่าง เพื่อนำไปเป็นต้นฉบับร่างแผนการปรับปรุงประมง โดยในกระบวนการนี้ จะต้องมีการระดมความคิดและมีส่วนร่วมจาก ผู้เชี่ยวชาญด้านการประมง ชาวประมง เพื่อหาวิธีการในการแก้ปัญหา จัดลาดับความสำคัญในการแก้ปัญหา รวมถึงหาผู้รับผิดชอบและเกี่ยวข้องกับกิจกรรมนั้นๆ แผนการปรับปรุงประมงนี้จะสมบูรณ์ได้ต่อเมื่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดยอมรับในกิจกรรมและกระบวนการตามแผน


ระยะที่ 3
กระบวนการปฏิบัติตามแผนปรับปรุงประมง
และติดตามผลการดำเนินการ (Implementation)

ระยะนี้จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีการสื่อสารความคืบหน้าโครงการแก่ผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ค้าต่างประเทศ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับโครงการโดยโครงการการพัฒนาและปรับปรุงการประมงอวนลาก(Trawl Fishery Improvement Project) แบ่งการทางานเป็น 2 โครงการ คือ โครงการฝั่งอันดามัน และ โครงการฝั่งอ่าวไทย

โดยมีสถานะและบทบาทผู้ที่เกี่ยวข้องดังนี้

Fishery Improvment Projects (FIPS)

Model FIP Model FIP in Andaman Model FIP in gulf of thailand
Project Owner Thai sustainable Fishery Roundtable (TSFR)
Project Advisor World wildlife Fund (WWF) Sustainable Fisheries Parnership (SFP)
Project Manager World wildlife Fund (WWF) Fish matter (Mr. Duncan)
Project Contributor Fisheries Expert(Dr.Rawee) Fisheries Expert(Dr.Rawee)
Assessment auditor MRAG RS Standards UK
Assessment auditor MSC IFFO RS (Version 2)
โครงการ Trawl FIP (อันดามัน)

สถานะ โครงการได้ดำเนินการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap analysis) และรายงาน scoping document ซึ่งเป็นรายงานที่จะบอกว่าโครงการควรมีขอบข่ายการพัฒนาในเรื่องใดบ้าง และนำผลวิเคราะห์ทั้ง 2 รายงาน ไปจัดทำเป็นแผนการพัฒนา (action plan) ซึ่งโครงการอันดามัน ยังมีข้อจำกัด คือเป็นโครงการที่ประเมินผลก่อนที่ พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 จะประกาศและมีผลบังคับใช้ อีกทั้งโครงการใช้หลักการการประเมิณตาม MSC ซึ่งหากยังคงใช้หลักการนี้ จะต้องใช้เวลาในการดำเนินการโครงการอย่างน้อย 10 ปี ทำให้ TSFR ต้องพิจารณาและอยู่ระหว่างการดำเนินการปรับเปลี่ยนการอ้างอิงมาเป็นมาตรฐาน IFFO RS multispecies เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทการประมงไทย ที่มีความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำ

ขั้นตอนต่อไป ทบทวนการประเมินสถานการณ์ประมงอีกครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบการประมงใหม่ที่เกิดขึ้น และทบทวนแผนกิจกรรมที่เดิมเคยจัดทำไว้ และนำแผนกิจกรรมที่ได้ไปสู่การปฏิบัติต่อไป ซึ่งในขั้นตอนนี้จำเป็นต้องมีบุคลากรและงบประมาณมาสนับสนุน

โครงการ Trawl FIP (อ่าวไทย)

สถานะ โครงการได้ดำเนินการจัดทารายงานวิเคราะห์ช่องว่าง และจัดทำเป็นแผนการพัฒนา (action plan) แล้ว โดยร่างแผนการพัฒนาดังกล่าวผ่านการพิจารณาจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2561 ณ กรมประมง โดยมีกิจกรรมหลักทั้งหมด 14 กิจกรรม และสามารถแยกย่อยเป็นกิจกรรมย่อยได้อีก

ขั้นตอนที่ต้องเร่งดำเนินการ โครงการจะต้องจัดส่งใบสมัครการเข้าร่วมโครงการตามมาตรฐาน IFFO RS Improver Program ตามแบบฟอร์ม 3A ซึ่งโครงการนี้ จะระบุรายชื่อโรงงานปลาป่นที่เข้าร่วมโครงการใน Annex 2 และโรงงานอาหารสัตว์ที่เข้าร่วมโครงการใน Annex 3 ซึ่งหากโครงการได้ submit ใบสมัครตามฟอร์ม 3A ให้กับ IFFO RS แล้ว หากมีบริษัทใดต้องการเข้าร่วมโครงการจะมีเงื่อนไขว่า จะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้เข้าร่วมโครงการปัจจุบันอย่างน้อย 75% ซึ่งขณะนี้ โครงการมีบริษัทผู้ผลิตปลาป่นเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 42 ราย และมีบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์เข้าร่วมโครงการ 6 ราย ขั้นตอนต่อไป นาแผนปฏิบัติการ(action plan) ที่ผ่านการพิจารณาจาก IFFO RS แล้วไปสู่การปฏิบัติและประเมินตามกรอบระยะเวลาที่ IFFO RS กำหนด

อ่านเพิ่มเติม
วัตถุประสงค์ในภาพรวมของเรา
แรงงานปลอดภัยและแรงงานที่ถูกกฎหมาย

ไทยยูเนี่ยนให้ความสำคัญกับการดูแลพนักงานให้เกิดความปลอดภัยและไม่มีการใช้แรงงานที่ผิดกฎหมาย โดยเราได้รับการตรวจสอบจากภายนอกและมีรายงานการ Sedex

อ่านเพิ่มเติม
การดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบ

วิธีการดำเนินงานของบริษัทต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและแสดงถึงหน้าที่ในการดูแลและปฏิบัติต่อแรงงานของบรัษัท

การจัดหาวัตถุดิบด้วยความรับผิดชอบ

บริษัทไทยยูเนี่ยนฟีดมิลล์ ให้ความสำคัญกับเรื่องความโปร่งใสในการตรวจสอบกลับได้ของผลิตภัณฑ์ ในอาหารของไทยยูเรี่ยนฟีดมิลล์ในทุกกระสอบด้านหลังจากมีตัวเลขประทับตราไว้ เช่น FIF 02080919021 ตัวเลขนี้ สามารถสอบย้อนกลับไปยังแหล่งวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตได้ทุกตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุดิบที่มาจากทะเล สามารถสอบกลับไปได้ถึงเรือประมงและแหล่งที่จับปลา

ผู้คนและชุมชน

ไทยยูเนี่ยนฟีดมิลล์ให้ความสำคัญกับทุกคนที่เราใกล้ชิดและร่วมงานด้วย เรามีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ที่อาศัยและทำงานในภูมิภาคที่บริษัทมีการดำเนินธุรกิจอยู่