Daily shrimp price

Last Updated: 05 February 2023

Unit (Kg.) 40 50 60 65 70 75 80 85 90 95 100 105 110 115 120 125 130 135 140 145 150 No. of Containers
Price (Baht) 205 185 175 17 170 160 150 145 135 130 128 122 122 120 120 120 120 118 118 118 116 29
#โซ่อุปทานอุตสาหกรรมสัตว์น้ำไทย วันนี้ เป็นอย่างไร

วันนี้ฝ่ายวิชาการขอเชิญชวน มารู้จัก "โซ่อุปทานอุตสาหกรรมสัตว์น้ำไทย"
เริ่มต้นจากโรงเพาะฟัก ซึ่งได้พ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำจากธรรมขาติผ่านการจับของเรือประมง ตัวอย่างเช่นพ่อแม่พันธุ์ปลากะพงขาว
หรืออาจได้จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีคุณภาพเช่นพ่อแม่พันธุ์ปลานิลที่บางฟาร์มเลือกจากบ่อเลี้ยงที่ได้ลักษณะเหมาะสม
จากนั้นโรงเพาะจะทำการผลิตให้ได้ลูกพันธุ์สัตว์น้ำคุณภาพ แล้วส่งต่อไปยังโรงอนุบาลเพื่อทำการอนุบาลลูกพันธุ์สัตว์น้ำโตขึ้นมาอีกนิด
จนได้ลูกพันธุ์สัตว์น้ำในแบบที่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำต้องการฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำจึงซื้อลูกพันธุ์สัตว์น้ำนั้นมาปล่อยแล้วเลี้ยงต่อในฟาร์ม

ทั้งโรงเพาะฟัก/อนุบาลและฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ ต้องซื้อหรือให้อาหารและใช้ปัจจัยการผลิตจากผู้ผลิตอาหารสัตว์น้ำ
ผู้ผลิตปัจจัยการผลิตสัตว์น้ำหรือร้านค้าตัวแทนจำหน่ายผลิตปัจจัยการผลิตสัตว์น้ำหรือร้านค้าตัวแทนจำหน่าย เพื่อใช้ในการเลี้ยงสัตว์น้ำจนได้ขนาดที่ต้องการขาย
ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำจะขายผลผลิตให้กับ ผู้รวบรวม/แพ/ตลาดกลาง ซึ่งกลุ่มนี้จะมีการนำส่งต่อไปยัง ห้องเย็น/ โรงงานแปรรูป/ผู้ส่งออก
เพื่อดำเนินการต่อไปตามคำสั่งซื้อของตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะเห็นว่าในกระบวนการของการแปรรูปอาจได้
วัตถุดิบที่เป็นผลพลอยได้ที่จะสามารถส่งมาเป็นวัตถุดิบป้อนให้โรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำ เช่น เปลือกกุ้ง น้ำมันปลา น้ำนึ่งปลา เป็นต้น
สิ่งสำคัญในวันนี้คือความเข้าใจในโซ่อุปทาน ซึ่งในทุกภาคส่วน ทุกกระบวนการของการผลิตสัตว์น้ำไทยนั้นต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
และ ทุกกระบวนการของโซ่อุปทาน ต้องตระหนักเสมอว่า เราผลิตสัตว์น้ำเพื่อการบริโภคดังนั้นต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ
พวกเราเองอาจต้องมองว่าเราอยู่จุดไหนของโซ่อุปทานนี้ ต้องพิจารณาดูว่าเราจะเข้าไปร่วมกิจกรรมในจุดใดเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำของไทยเป็นไปอย่างยั่งยืน
เช่น เกษตรกรควรได้รับการส่งเสริมจนได้ จีเอพี, ใช้สินค้าปัจจัยอย่างเหมาะสมไม่มีสารตกค้าง, บริษัทอาหารและบริษัทที่ขายปัจจัยการผลิตฯ
ต้องทำสินค้าให้ได้คุณภาพมีการขึ้นทะเบียนตามข้อกำหนดของภาครัฐ -มีพนักงานในพื้นที่คอยเข้าไปร่วมรับรู้ปัญหา
หรือเข้าไปช่วยแนะนำเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำนั้นได้ผลที่ดีเพิ่มขึ้น และผู้ซื้อผลผลิตเช่นแพ ห้องเย็น
ซึ่งเป็นคนรับซื้อสัตว์น้ำต้องมีความจริงใจที่จะสื่อสารออกมาว่าลักษณะสัตว์น้ำแบบไหนที่ตลาดต้องการ
จำนวนที่ต้องการในแต่ละช่วงเวลา ประมาณเท่าไร , การส่งเสริมทำประกันราคาขั้นต่ำเพื่อสร้างความมั่นใจของเกษตรกร เป็นต้น
แต่ อย่าลืมเรื่องการตรวจสอบย้อนกลับได้ของสินค้าปัจจัยการผลิต ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ
โดยเกษตรกรควรจดบันทึกข้อมูลสำคัญเช่นปริมาณอาหาร , ปริมาณ/ชนิดการใช้สินค้าปัจจัยการผลิตสัตว์น้ำในเอกสารได้
แม้จะไม่คล่องเรื่องของคอมพิวเตอร์หรือการทำระบบออนไลน์ ก็ตาม เพื่อความยั่งยืนทุกจุดต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้

ทีมงานไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ ยินดีเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยผลักดันให้เกษตรกรไทย มีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำไทยก้าวไปอย่างยั่งยืน
ฝ่ายวิชาการ บมจ.ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์