ราคากุ้งประจำวัน

ปรับปรุงเมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2566

จำนวนกุ้ง (ตัว) ต่อกิโลกรัม 40 50 60 65 70 75 80 85 90 95 100 105 110 115 120 125 130 135 140 145 150 จำนวนตู้
ราคา (บาท) 205 185 175 17 170 160 150 145 135 130 128 122 122 120 120 120 120 118 118 118 116 29
  1. 2565

    PT Thai Union Kharisma Lestari เริ่มดำเนินการผลิตและจำหน่ายสินค้า ในวันที่ 1 มกราคม 2565

    ในปี 2565 ได้มีแผนการลงทุนในเครื่องจักรสำหรับผลิตอาหารกุ้งที่โรงงานมหาชัย จำนวน 2 ไลน์การผลิต เพื่อให้ได้รับสิทธิในบัตรส่งเสริมการลงทุน (BOI) โคยใช้งบลงทุนจำนวน 180 ล้านบาท ซึ่งเริ่มดำเนินการและแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2565

    สิงหาคม

    ในวันที่ 25 สิงหาคม 2565 มีมติคณะกรรมการบริหารอนุมัติให้ชำระเงินค่าหุ้นเพิ่มเติมจากหุ้นสามัญที่จดทะเบียนไว้และยังไม่ได้รับชำระเงินค่าหุ้นของบริษัท AMG-Thaiunion Feedmill Private Limited ตามสัดส่วนการถือหุ้น เป็นจำนวน 408,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือคิดเป็นประมาณ 13.8 ล้านบาท)8 เพื่อรองรับแผนการขยายการผลิตไปสู่อาหารกุ้ง โดยจะทำให้ AMG-TFM เป็นบริษัทแรกในประเทศปากีสถานที่เป็นผู้ผลิตอาหารกุ้ง

    ตุลาคม

    ในเดือนตุลาคม 2565 บริษัทฯ และผู้ถือหุ้นของบริษัท PT Thai Union Kharisma Lestari ได้มีมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชำระคืนเงินกู้ยืมระยะยาว โดยบริษัทฯ ได้ทำการเพิ่มทุนตามสัดส่วนการถือหุ้น เป็นจำนวน 4.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือคิดเป็นประมาณ 178.01 ล้านบาท) เนื่องจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในตลาดอยู่ในช่วงขาขึ้น และเพื่อเป็นการลคค่าใช้จ่ายต้นทุนทางการเงินของบริษัทฯ

    8 อัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขิ้นจริง (ที่มา: งบการเงินของบริษัทฯ)

  2. 2564

    ขยายกำลังการผลิตอาหารปลา เพิ่มทุนจดทะเบียน เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนเป็นการทั่วไป (IPO) และเข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนใน SET

    ในปี 2563 - ไตรมาส 2 ปี 2564 บริษัทฯ มีการเพิ่มกำลังการผลิตสายการผลิตอาหารปลาอีก 1 สายการผลิต และได้มีการรื้อถอนสายการผลิต อาหารกุ้งที่มีอายุการใช้งานมานาน ส่งผลให้กำลังการผลิตของบริษัทฯ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 เท่ากับ 273,000 ตันต่อปี โดยแบ่งเป็นกำลัง การผลิตอาหารกุ้ง 153,000 ตันต่อปี กำลังการผลิตอาหารปลา 90,000 ตันต่อปี และกำลังการผลิตอาหารสัตว์บก 30,000 ตันต่อปี

    มกราคม

    ในเดือนมกราคม 2564 บริษัทฯ ได้มีการเข้าทำสัญญาผู้ถือหุ้น (Shareholder Agreement) กับกลุ่ม AMG เพื่อตกลงสิทธิ อำนาจ และหน้าที่ ของผู้ถือหุ้นแต่ละฝ่าย โดยบริษัทฯ และกลุ่ม AMG จะถือหุ้นใน AMG-TFM ในสัดส่วนร้อยละ 51.0 และร้อยละ 49.0 ตามลำดับ โดยคาดว่าจะมีมูลค่าลงทุนเริ่มแรกประมาณ 340.0 ล้านรูปีปากีสถาน (หรือคิดเป็นประมาณ 68.9 ล้านบาท)1

    เมษายน

    ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2564 ของบริษัทฯ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 ได้มีมติดังนี้

    • ลดทุนจดทะเบียนโดยการลดทุนหุ้นสามัญจำนวน 90.0 ล้านหุ้น ส่งผลให้ทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ ลดลงจาก 500.0 ล้านหุ้น เป็น 410.0 ล้านหุ้น ด้วยมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 2.0 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียนโดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 90.0 ล้านหุ้น ส่งผลให้ทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นจาก 410.0 ล้านหุ้น เป็น 500.0 ล้านหุ้น ด้วยมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 2.0 บาท เพื่อรองรับการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
    • จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 90.0 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 2.0 บาท เพื่อเสนอขายต่อ (1) กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ของ TU จำนวนไม่เกิน 2.5 ล้านหุ้น (2) กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 2.5 ล้านหุ้น และ (3) ประชาชน จำนวนไม่ต่ำกว่า 85.0 ล้านหุ้น และนำหุ้นสามัญของบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

    มิถุนายน

    ในเดือนมิถุนายน 2564 บริษัทฯ และกลุ่ม AMG ได้จ่ายชำระเงินค่าหุ้นใน AMG-TFM ตามสัดส่วนการถือหุ้นจำนวน 1 ครั้ง ในเดือนมิถุนายน 2564 เป็นจำนวนรวม 170.0 ล้านรูปีปากีสถาน ส่งผลให้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 AMG-TFM มีทุนชำระแล้วเท่ากับ 170.0 ล้านรูปีปากีสถาน (หรือคิดเป็นประมาณ 34.3 ล้านบาท) (โดยเป็นมูลค่าเงินลงทุนของบริษัทฯ เท่ากับ 86.7 ล้านรูปีปากีสถาน หรือประมาณ 17.5 ล้านบาท)2 โดย AMG-TFM ได้เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วในช่วงไตรมาส 2 ปี 2564

    สิงหาคม

    ในเดือนสิงหาคม 2564 บริษัทฯ และกลุ่ม AMG ยังได้เพิ่มทุนใน AMG-TFM เพิ่มเติมอีก 1 ครั้ง ตามสัดส่วนการถือหุ้น เป็นจำนวนรวม 130.0 ล้านรูปีปากีสถาน (หรือคิดเป็นประมาณ 26.4 ล้านบาท) (โดยเป็นมูลค่าเงินลงทุนของบริษัทฯ เท่ากับ 66.3 ล้านรูปีปากีสถาน หรือ ประมาณ 13.4 ล้านบาท) ส่งผลให้ ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2564 AMG-TFM มีทุนชำระแล้วเท่ากับ 300.0 ล้านรูปีปากีสถาน (หรือคิดเป็น ประมาณ 60.7 ล้านบาท)

    ตุลาคม

    วันที่ 26 ตุลาคม 2564 บริษัทได้จดทะเบียนเพิ่มทุนชำระแล้ว จาก 820.0 ล้านบาท โดยมีจำนวนหุ้น 410.0 ล้านหุ้น เป็น 1,000.0 ล้านบาท โดยมีจำนวนหุ้น 500.0 ล้านหุ้น ด้วยมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 2.0 บาท เนื่องจากการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นการทั่วไป ซึ่งต่อเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 หุ้น "TFM" ของบริษัทฯ ได้เริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นวันแรก

    1 โดยเป็นมูลค่าเงินลงทุนของบริษัทฯ ประมาณ 35.1 ล้านบาท (อ้างอิงจากอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 ซึ่ง 1 รูปีปากีสถาน เท่ากับ 0.2025 บาท ตามเว็ปไซด์ธนาคารแห่งประเทศไทย)

    2 อัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นจริง (ที่มา: งบการเงินของบริษัทฯ)

  3. 2563

    ลงทุนเพิ่มเติมใน TUKL และมีมติเข้าร่วมลงทุนจัดตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ในประเทศปากีสถาน ในชื่อว่า AMG-TFM

    กุมภาพันธ์

    ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 บริษัทฯ และพันธมิตรอีก 2 กลุ่ม ได้มีการจ่ายชำระเงินค่าหุ้นสามัญใน TUKL เพิ่มเติม ตามสัดส่วนการถือหุ้น เป็นจำนวนรวม 33,320 ล้านรูเปีย (หรือคิดเป็นประมาณ 77 ล้านบาท อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 คือ 433.2 รูเปีย เท่ากับ 1 บาท)

    กันยายน

    ในเดือนกันยายน 2563 บริษัทฯ และพันธมิตรอีก 2 กลุ่ม ได้มีการจ่ายชำระเงินค่าหุ้นสามัญใน TUKL เพิ่มเติม ตามสัดส่วนการถือหุ้น เป็นจำนวนรวม 33,320 ล้านรูเปีย (หรือคิดเป็นประมาณ 72 ล้านบาท อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 คือ 460.8 รูเปีย เท่ากับ 1 บาท) ส่งผลให้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 TUKL มีทุนชำระ แล้วเท่ากับ 199,920 ล้านรูเปีย (หรือคิดเป็นประมาณ 458 ล้านบาท) โดยเป็นมูลค่าเงินลงทุนของบริษัทฯ เท่ากับ 129,948 ล้านรูเปีย (หรือคิดเป็นประมาณ 301 ล้านบาท)

    พฤศจิกายน

    ในเดือนพฤศจิกายน 2563 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ได้มี มติอนุมัติการเข้าร่วมลงทุนจัดตั้งบริษัทย่อยในประเทศปากีสถาน คือ AMG-TFM ขึ้นเพื่อประกอบธุรกิจผลิต และจำหน่ายอาหารสัตว์น้ำในประเทศปากีสถาน

  4. 2562

    ขยายธุรกิจไปยังอาหารสัตว์บกและแปรสภาพเป็นจากบริษัทจำกัดเป็นบริษัทมหาชน เพิ่มทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ลงทุนเพิ่มเติมใน TUKL และจำหน่ายที่ดินที่ไม่ใช่ทรัพย์สินดำเนินงาน (Non Operating Assets)

    ในช่วงต้นปี 2562 บริษัทฯ ได้มีการขยายธุรกิจไปยังธุรกิจการผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์บก ซึ่งได้แก่ อาหารสัตว์ปีก และอาหารสุกร เป็นต้น เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ ในขณะเดียวกันยังเป็นการช่วยเพิ่มอัตราการใช้กำลังการผลิต (Utilization Rate) ของเครื่องจักรของบริษัทฯ อีกด้วย

    พฤษภาคม

    ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 2/2562 ของบริษัทฯ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 ได้มีมติดังนี้

    • อนุมัติแปรสภาพบริษัทเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด (มหาชน) (โดยบริษัทฯ ได้จดทะเบียนแปรสภาพจากบริษัทจำกัดเป็นบริษัทมหาชนจำกัดและเปลี่ยนชื่อบริษัท เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2562)
    • เปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นสามัญของบริษัทฯ จากเดิมหุ้นละ 10.0 บาท เป็นหุ้นละ 2.0 บาท ส่งผลให้จำนวนหุ้นสามัญของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นจาก 82.0 ล้านหุ้น เป็น 410.0 ล้านหุ้น
    • เพิ่มทุนจดทะเบียนโดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 90.0 ล้านหุ้น ส่งผลให้ทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นจาก 410.0 ล้านหุ้น เป็น 500.0 ล้านหุ้น ด้วยมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 2.0 บาท เพื่อรองรับการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
    • จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 90.0 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 2.0 บาท เพื่อเสนอขายต่อ (1) กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของ TU จำนวนไม่เกิน 2.5 ล้านหุ้น (2) กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 2.5 ล้านหุ้น และ (3) ประชาชน จำนวนไม่ต่ำกว่า 85.0 ล้านหุ้น และนำหุ้นสามัญของบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

    เมษายน

    - ในเดือนเมษายน 2562 บริษัทฯ PT MSK และกลุ่ม AVANTI ได้มีการจ่ายชำระเงินค่าหุ้นใน TUKL เป็นครั้งที่สอง รวมเป็นจำนวน 93,256 ล้านรูเปีย (หรือคิดเป็นประมาณ 217 ล้านบาท อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 25 เมษายน 2562 คือ 430.3 รูเปีย เท่ากับ 1 บาท4) ซึ่งคิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนของบริษัทฯ เท่ากับ 60,642 ล้านรูเปีย (หรือคิดเป็นประมาณ 141 ล้านบาท อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 25 เมษายน 2562 คือ 430.3 รูเปีย เท่ากับ 1 บาท)

    พฤษภาคม

    - ในเดือนพฤษภาคม 2562 บริษัทฯ ได้ขายที่ดินที่ไม่ใช่สินทรัพย์หลักในการดำเนินงาน (Non-core Operating Asset) ในจังหวัดพังงา ขนาด 96.5 ไร่ ให้แก่ TU โดยมีมูลค่าซื้อขายเท่ากับ 440.0 ล้านบาท (ที่ดินดังกล่าวมีมูลค่าตามบัญชี เท่ากับ 152.2 ล้านบาท ณ วันที่ 31 มีนาคม 2562) เพื่อการปรับโครงสร้างของบริษัทฯ และลดโอกาสเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากการให้เช่าที่ดินแก่บริษัทอื่นในกลุ่ม TU

  5. 2561

    ปรับโครงสร้างการถือหุ้นและเพิ่มทุนจดทะเบียนชำระแล้ว และปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัทฯ

    เมษายน

    ในเดือนเมษายน 2561 TU เข้าซื้อหุ้นของบริษัทฯ จำนวน 6.0 ล้านหุ้น หรือคิคเป็นร้อยละ 12.1 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของบริษัทฯ ในราคาหุ้นละ 78.4 บาท จากกลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อย ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของ TU ในบริษัทฯ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 51.0 เป็นร้อยละ 63.1 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของบริษัทฯ

    เมษายน

    ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2561 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2561 ของบริษัทฯ ได้มีมติเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ จำนวน 320.0 ล้านบาท โดยจัดสรรหุ้นสามัญทั้งหมด จำนวน 32.0 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10.0 บาท เพื่อเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทฯ ตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering) (“RO”) ในราคาเสนอขายหุ้นละ 10.0 บาท ส่งผลให้ภายหลังจาก RO บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว จำนวน 820.0 ล้านบาท ประกอบด้วย หุ้นสามัญทั้งหมด จำนวน 82.0 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10.0 บาท ทั้งนี้ เนื่องจากมีผู้ถือหุ้นบางส่วนไม่ได้ใช้สิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนในส่วนของตนเอง TU จึงได้จองซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามสัดส่วนของตนและสัดส่วนที่เหลือจากการจัดสรรทั้งหมด เพื่อให้บริษัทฯ ได้รับเงินเพิ่มทุนครบตามจำนวน ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของ TU เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 63.1 เป็นร้อยละ 66.9 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของบริษัทฯ

    พฤษภาคม

    ในเดือนพฤษภาคม 2561 บริษัทฯ ได้มีการเข้าทำสัญญาผู้ถือหุ้น (Shareholder Agreement) ในการ ร่วมลงทุนจัดตั้งบริษัทย่อยของบริษัทฯ ในประเทศอินโดนีเซีย คือ TUKL กับพันธมิตรทางธุรกิจ 2 ราย ได้แก่ PT MSK และกลุ่ม AVANTI (ประกอบด้วย AVANTI และ Srinivasa) เพื่อตกลงสิทธิ อำนาจ และหน้าที่ของผู้ถือหุ้นแต่ละฝ่าย โดยบริษัทฯ PT MSK และกลุ่ม AVANTI มีสัดส่วนการลงทุนร้อยละ 65.0 ร้อยละ 25.0 และร้อยละ 10.0 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของ TUKL ตามลำดับ

    สิงหาคม

    ในเดือนสิงหาคม 2561 บริษัทฯ ได้เข้าทำสัญญาจำหน่ายเงินลงทุนใน TMAC ให้แก่ TU ในราคาเท่ากับ 31.6 ล้านบาท

    สิงหาคม

    ในเดือนสิงหาคม 2561 บริษัทฯ MSK และกลุ่ม AVANTI ได้มีการจ่ายชำระเงินค่าหุ้นใน TUKL เป็นครั้งแรก รวมเป็นจำนวน 39,984 ล้านรูเปีย (หรือคิดเป็นประมาณ 92 ล้านบาท อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2561 คือ 434.8 รูเปีย เท่ากับ 1 บาท)

  6. 2555

    จดทะเบียนจัดตั้งการร่วมค้า คือ บริษัท ทีเอ็มเอซี จำกัด (TMAC)

    บริษัทฯ ได้ร่วมลงทุนกับ Mitsubishi ซึ่งเป็นบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (Trading Firm) ในการจดทะเบียนจัดตั้ง TMAC เพื่อประกอบธุรกิจถือหุ้นในบริษัทที่ประกอบธุรกิจฟาร์มเพาะพันธุ์และฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง โดยบริษัทฯ และ Mitsubishi มีการถือหุ้นใน TMAC ในสัดส่วนร้อยละ 51.0 และร้อยละ 49.0 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ตามลำดับ ทั้งนี้ ถึงแม้ว่า TMAC จะไม่ได้ประกอบธุรกิจเดียวกันกับบริษัทฯ แต่เนื่องจาก TMAC เป็นธุรกิจในอุตสาหกรรมต้นน้ำ (Upstream) เช่นเดียวกับบริษัทฯ ในช่วงเวลาดังกล่าว TU จึงพิจารณาให้บริษัทฯ เป็นผู้เข้าลงทุนใน TMAC

  7. 2553

    เพิ่มทุนจดทะเบียนชำระแล้ว

    บริษัทฯ เพิ่มทุนจดทะเบียนชำระแล้ว จาก 300.0 ล้านบาท โดยมีจำนวนหุ้น 30.0 ล้านหุ้น เป็น 500.0ล้านบาท โดยมีจำนวนหุ้น 50.0 ล้านหุ้น ด้วยมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10.0 บาท

  8. 2550

    ขยายธุรกิจไปยังธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารปลากะพง

    บริษัทฯ เริ่มขยายธุรกิจเข้าสู่ธุรกิจการผลิตและจำหน่ายอาหารปลาทะเล คือ อาหารปลากะพง ภายใต้แบรนด์สินค้า “โปรฟีด (PROFEED)” โดยบริษัทฯ เป็นผู้ผลิตอาหารสัตว์น้ำรายแรกๆ ของประเทศไทยที่บุกเบิกเข้าสู่ธุรกิจอาหารปลากะพง

  9. 2549

    ขยายธุรกิจไปยังธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารปลา

    • บริษัทฯ เพิ่มทุนจดทะเบียนชำระแล้ว จาก 200.0 ล้านบาท โดยมีจำนวนหุ้น 20.0 ล้านหุ้น เป็น 300.0 ล้านบาท โดยมีจำนวนหุ้น 30.0 ล้านหุ้น ด้วยมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10.0 บาท
    • บริษัทฯ แก้ไขวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจจาก “การประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารกุ้ง” เป็น “การประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารกุ้ง อาหารปลา อาหารสัตว์บก และอาหารสัตว์”
    • บริษัทฯ เริ่มดำเนินการผลิตและจำหน่ายอาหารปลาน้ำจืด ภายใต้แบรนด์สินค้า “โปรฟีด (PROFEED)”, “นานามิ (NANAMI)” และ “โอนิล” ซึ่งได้แก่ อาหารปลานิล อาหารปลาดุก และอาหารปลาทับทิม เป็นต้น
  10. 2546

    เข้าทำสัญญาความร่วมมือทางเทคนิคและการอนุญาตให้ใช้ชื่อทางการค้า (Tradename) กับพันธมิตรในประเทศอินเดีย (AVANTI)

    บริษัทฯ เข้าเป็นพันธมิตรกับ AVANTI โดยการทำสัญญาความร่วมมือทางเทคนิคและการอนุญาตให้ AVANTI จำหน่ายอาหารกุ้งในประเทศอินเดีย และส่งออกอาหารกุ้ง โดยใช้สูตรการผลิต ชื่อทางการค้า (Tradename) “PROFEED” และชื่อทางการค้าสำหรับอาหารกุ้งขาว “NANAMI” (โดย AVANTI จำหน่ายภายใต้ชื่อทางการค้า “MANAMEI”)

  11. 2544

    เพิ่มทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ขยายโรงงานเพิ่มเติ่มอีก 1 แห่ง จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งของบริษัทฯ และเริ่มขยายธุรกิจไปยังประเทศมาเลเซีย

    • บริษัทฯ เพิ่มทุนจดทะเบียนชำระแล้ว จาก 80.0 ล้านบาท โดยมีจำนวนหุ้น 8.0 ล้านหุ้น เป็น 200.0 ล้านบาท โดยมีจำนวนหุ้น 20.0 ล้านหุ้น ด้วยมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10.0 บาท
    • บริษัทฯ ก่อสร้างอาคารโรงงานเพิ่มเติมอีก 1 แห่ง ตั้งอยู่เลขที่ 89/1 หมู่ที่ 2 ถนนพระราม 2 ตำบลกาหลง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร 74000 (โรงงานมหาชัย) เพื่อทำการรองรับการขยายกำลังการผลิตจาก 24,000 ตันต่อปี เป็น 73,000 ตันต่อปี และทำการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งของบริษัทฯ จากโรงงานระโนดมาเป็นโรงงานมหาชัย
    • บริษัทฯ เริ่มส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศเป็นครั้งแรก คือ ประเทศมาเลเซีย
  12. 2543

    จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทฯ ขึ้นเพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารกุ้ง และเข้าซื้อธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารกุ้งจากบริษัท แอควาสตาร์ จำกัด (Aqua Star)

    • TU และกลุ่มครอบครัวบุญมีโชติ จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทฯ ด้วยทุนจดทะเบียนชำระแล้ว เท่ากับ 80.0 ล้านบาท โดยมีจำนวนหุ้น 8.0 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10.0 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารกุ้ง
    • บริษัทฯ เข้าซื้อธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารกุ้ง ซึ่งรวมถึงที่ดิน อาคารโรงงาน แบรนด์สินค้า “โปรฟีด (PROFEED)” “แอควาฟีด (AQUAFEED)” และ “ซีฟีด (SEAFEED)” และใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจและ/หรือการครอบครองทรัพย์สิน จาก Aqua Star ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและไม่ได้เป็นบุคคลที่อาจขัดแย้งของบริษัทฯ
    • บริษัทฯ มีที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทฯ และโรงงานเพียงแห่งเดียว ตั้งอยู่เลขที่ 103/1 หมู่ที่ 2 ถนนสงขลา-ระโนด ตำบลปากแตระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา (โรงงานระโนด)
    • บริษัทฯ มีการผลิตและการจำหน่ายอาหารกุ้งภายใต้แบรนด์สินค้า “โปรฟีด (PROFEED)” และ “แอควาฟีด (AQUAFEED)”